หมดห่วงด้วยเทคนิครับมือปัญหาหน้าฝน ฝนจะตกเยอะแค่ไหนก็ไม่หวั่น

Key Takeaways

  • ● หน้าฝนเป็นฤดูที่มาพร้อมปัญหาต่าง ๆ มากมาย ที่อาจส่งผลทำให้บ้านของเราเสียหายและชำรุดได้ง่าย ดังนั้นการเตรียมบ้านให้พร้อมรับกับปริมาณน้ำฝนและความชื้นจำนวนมาก จะช่วยลดความเสียหายได้เป็นอย่างดี
  • ● ปัญหาหน้าฝนที่ทำให้บ้านเสียหาย ประกอบไปด้วย หลังคารั่ว, ผนังบ้านรั่วซึม, เฟอร์นิเจอร์ขึ้นรา, บ้านมีกลิ่นอับ, ท่อและรางน้ำตัน, มีน้ำขังตามจุดต่าง ๆ , พื้นมีตะไคร่น้ำเกาะ, วัชพืชโตเร็ว, ต้นไม้หักทับตัวบ้าน และ ไฟฟ้าลัดวงจร

 

เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก แป๊บเดียวก็เข้าสู่หน้าฝนซะแล้ว และก็เป็นที่รู้กันดีว่าปัญหาหน้าฝนนั้นมีเยอะแยะมากมาย ทำให้เวลาจะถึงหน้าฝนทีไร ต้องเตรียมตัวรับมือกับอาการปวดหัวที่มักจะมาพร้อมปัญหาฝนตกแบบร้อยแปด วันนี้ IRIS Ohyama เลยอยากมาแชร์ปัญหาต่าง ๆ ที่ชอบเกิดในหน้าฝน พร้อมบอกวิธีรับมือกับปัญหาเหล่านั้น เพื่อเป็นแนวทางให้เพื่อน ๆ เอาไปปรับใช้กับที่บ้านของตัวเอง

 

 

ปัญหาที่ชอบมาพร้อมหน้าฝนและวิธีรับมือ

1. หลังคารั่ว

หลังคารั่ว

ภาพ: หลังคารั่ว

 

ปัญหาประจำชาติที่หลายบ้านชอบเจอ ไม่ว่าจะบ้านเก่าหรือบ้านใหม่ก็ตาม ซึ่งสังเกตได้เลยว่าถ้าบ้านไหนมีปัญหาหลังคารั่วซึม ฝ้าเพดานในบ้านชั้นบนสุดจะเป็นดวง ๆ บางครั้งก็มีน้ำหยดลงมา ซึ่งถ้าปล่อยไว้นาน ๆ เข้า ฝ้าก็อาจจะชำรุดจนเป็นรูขนาดใหญ่ได้

ปัญหาหน้าฝนอย่างหลังคารั่วนี้ มักเกิดจากน้ำฝนที่ลอดผ่านรอยต่อของหลังคาเข้ามาในบ้าน ซึ่งอาจเกิดจากการเลือกวัสดุหลังคาที่ไม่ได้คุณภาพ การติดตั้งหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการมุงหลังคาผิดองศา รวมถึงความเสื่อมสภาพของหลังคา ซึ่งเกิดได้บ่อยในบ้านเก่าที่ไม่ได้ดูแลและซ่อมแซมให้ดี

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● ซ่อมแซมและอุดรอยรั่วด้วยซิลิโคนยาแนวบริเวณรอยต่อหรือจุดที่มีการรั่วซึม
  • ● เปลี่ยนมาใช้ชุดอุปกรณ์ยึดครอบระบบแห้งที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
  • ● เลือกใช้ช่างทำหลังคาที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ในด้านนี้สูง

 

2. ผนังบ้านรั่วซึม

ผนังบ้านรั่วซึม

ภาพ: ผนังบ้านรั่วซึม

 

อีกหนึ่งปัญหาหน้าฝนที่เจอได้บ่อย โดยเฉพาะบ้านที่ชอบโดนฝนสาดเข้ากำแพงบ้านอยู่บ่อย ๆ แล้วยิ่งถ้าผนังบ้านนั้นดันมีรอยรั่ว ก็จะยิ่งเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความเสียหายเข้าไปอีก โดยจุดที่มักจะเจอบ่อย ๆ ก็คือบริเวณขอบหน้าตาและประตูที่ติดตั้งไม่ดีไม่ได้มาตรฐาน

ซึ่งจะทำให้น้ำฝนสามารถซึมผ่านเข้ามา แล้วทำให้ผนังรอบ ๆ นั้นเสียหาย และถ้าไม่รีบแก้ไขจะทำให้บริเวณนั้นเกิดตะไคร่และเชื้อรา สีทาบ้านก็จะเริ่มบวมพองและลอกออก ถ้าเป็นมาก ๆ โครงสร้างบ้านอาจเกิดความเสียหายได้ และจะยิ่งอันตรายเข้าไปอีกถ้าบริเวณนั้นมีปลั๊กไฟอยู่

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● ซ่อมแซมรอยรั่วด้วยการใช้ซิลิโคนอุดตามช่องโหว่ต่าง ๆ เพื่อไม่ให้น้ำฝนซึมเข้ามาได้
  • ● ทาสีบ้านใหม่ด้วยการขูดสีเดิมออก ตามด้วยสีรองพื้นปูนที่ป้องกันเชื้อราได้ แล้วค่อยตามด้วยสีทาบ้านที่มีคุณภาพ

 

3. เฟอร์นิเจอร์ขึ้นรา

เฟอร์นิเจอร์ขึ้นรา

ภาพ: เฟอร์นิเจอร์ขึ้นรา

 

บ้านไหนที่ชอบใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจากไม้ก็อาจจะเจอปัญหานี้ได้ง่ายกว่าบ้านอื่น ๆ เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่ขึ้นราได้ง่ายสุด ๆ และหากวางไว้ชิดกับผนังบ้านตรงที่ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่เฟอร์ฯ ไม้ชิ้นนั้น ๆ จะถูกน้ำฝนหรือเจอเข้ากับความชื้น

ซึ่งจะทำให้โต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ หรือตู้เก็บของไม้ สุดที่รักของทุกคนเกิดความเสียหายได้ เพราะเมื่อเจอความชื้นเข้าไปมาก ๆ ไม้ก็จะเริ่มบวม เชื้อราก็จะเริ่มมา นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนในบ้านแล้วนั้น ยังทำให้ภาพรวมของบ้านดูไม่น่ามองอีกด้วย

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● เคลือบผิวเฟอร์นิเจอร์ไม้ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราตั้งแต่ตอนที่ซื้อมาใหม่ ๆ
  • ● เลือกวางเฟอร์นิเจอร์ไม้ให้ห่างจากบริเวณหน้าต่างหรือประตูเพื่อลดความเสี่ยง
  • ● ถ้าเฟอร์ฯ มีเชื้อราขึ้นแล้ว ให้ขัดออกด้วยกระดาษทรายหรือเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำหรือแอลกอฮอล์ ปล่อยให้แห้งแล้วจึงตามด้วยสีรองพื้นป้องกันเชื้อรา

 

4. บ้านมีกลิ่นอับ

กลิ่นอับในบ้าน

ภาพ: กลิ่นอับในบ้าน

 

เป็นปัญหาหน้าฝนสุดเศร้าที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะเมื่อเข้าหน้าฝนทีไร ความชื้นในอากาศก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกที ส่งผลให้ตากผ้าเท่าไรก็ไม่แห้ง ยิ่งถ้าฝนตกหนัก ๆ ก็ต้องเอาผ้าเข้ามาตากในบ้านอีก แถมยังต้องคอยปิดประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันฝนสาด และยิ่งไปกว่านั้นตลอดทั้งวันก็หาแสงแดดไม่ค่อยจะเจอ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านมีกลิ่นอับรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● เลือกใช้สเปรย์ปรับอากาศที่มีคุณสมบัติช่วยลดกลิ่นอับได้
  • ● ติดตั้งพัดลมระบายอากาศเพิ่มเติมตามจุดต่าง ๆ ในบ้าน
  • ● วางพัดลมหมุนเวียนอากาศตามมุมห้องที่อากาศไม่ค่อยถ่ายเท

 

ลดกลิ่นอับในบ้านด้วย พัดลมหมุนเวียนอากาศ จาก IRIS Ohyama

พัดลมหมุนเวียนอากาศ รุ่น PCF-SC15T

ภาพ: พัดลมหมุนเวียนอากาศ รุ่น PCF-SC15T

 

“ ลดกลิ่นอับ เพิ่มอากาศสดชื่น ”

ฝนจะตกพายุจะเข้าก็ไม่กลัว เพียงแค่มีตัวช่วยสุดไฮเทค อย่างพัดลมหมุนเวียนอากาศ รุ่น PCF-SC15T จาก IRIS Ohyama ที่จะช่วยทำให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดกลิ่นอับได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังทำให้การตากผ้าในบ้านตอนหน้าฝนเป็นเรื่องง่ายแบบสุด ๆ เพราะผ้าของคุณจะแห้งไวขึ้นกว่าปกติถึง 40%

ด้วยลักษณะลมที่พุ่งออกมาจากพัดลมหมุนเวีนอากาศแบบเป็นเกลียว ๆ บวกกับความแรงที่แสนจะทรงพลัง ทำให้สามารถส่งลมออกไปได้ไกลกว่าพัดลมแบบปกติ แถมยังมีองศาการหมุนสุดพิเศษที่ทำให้อากาศภายในบ้านไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น

 

พัดลมหมุนเวียนอากาศ รุ่น PCF-SC15T

ภาพ: พัดลมหมุนเวียนอากาศ รุ่น PCF-SC15T

 

ฟังก์ชันสุดล้ำจากพัดลมหมุนเวียนอากาศ รุ่น PCF-SC15T

  • ● ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนอากาศภายในบ้านได้อย่างทั่วถึง
  • ● เลือกความแรงได้ 5 ระดับ และปรับทิศทางลมได้ 3 แบบ
  • ● องศาการหมุนกว้างขึ้น ครอบคลุมทั้งแนวตั้งแนวนอน
  • ● ดีไซน์สวย ขนาดกำลังดี น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย
  • ● ทำงานเงียบ ไร้เสียงรบกวน

 

สามารถหาซื้อพัดลมหมุนเวียนอากาศ รุ่น PCF-SC15T จาก IRIS Ohyama Thailand ได้ที่



  •  

     



  •  

     



  •  

     



  •  

     

หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

IRIS Ohyama Thailand

 

 

5. ท่อและรางน้ำตัน

ท่อและรางน้ำตัน

ภาพ: ท่อและรางน้ำตัน

 

เป็นปัญหาหลัก ๆ ของบ้านสายธรรมชาติที่รอบบ้านมีแต่ต้นไม้เต็มไปหมด เวลาฝนตกลมแรงทีไรก็มักจะมีใบไม้และกิ่งไม้เล็ก ๆ จำนวนมาก หลุดร่วงตามมาด้วยทุกครั้ง และใบไม้เหล่านั้นก็มักจะไหลไปตามทางน้ำ จึงทำให้รางน้ำและท่อระบายน้ำหน้าบ้านอุดตันได้ ซึ่งถ้าปล่อยไว้จะทำให้น้ำล้นออกมาจากรางน้ำหรือเกิดน้ำท่วมขังรอบบ้านได้

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● เวลาที่ฝนตกหนัก ๆ และเกิดลมแรง ต้องคอยสังเกตบริเวณรางน้ำและปากท่อระบายน้ำอยู่เสมอ หากมีเศษใบไม้ไปอุดตันก็ให้เอาไม้กวาดเขี้ยเศษใบไม้เหล่านั้นออก

 

6. มีน้ำขังตามจุดต่าง ๆ

น้ำขัง

ภาพ: น้ำขัง

 

ปัญหาคลาสสิกของประเทศไทยที่เจอกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งเมื่อเข้าสู่หน้าฝนและฝนเกิดตกติดกันหลาย ๆ วัน ก็อาจจะทำให้ภาชนะที่วางอยู่รอบ ๆ บ้านเกิดน้ำขังได้ และถ้าเจ้าของบ้านไม่ยอมเดินเช็กบ่อย ๆ ภาชนะนั้นจะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายชั้นดี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย และไข้สมองอักเสบได้

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● หมั่นตรวจเช็กบริเวณรอบ ๆ บ้าน ว่ามีภาชนะที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำขังหรือไม่ จะได้คว่ำภาชนะนั้นให้เรียบร้อย

 

7. พื้นมีตะไคร่น้ำเกาะ

พื้นมีตะไคร่น้ำ

ภาพ: พื้นมีตะไคร่น้ำ

 

บ้านไหนมีเด็กหรือผู้สูงอายุต้องระวังปัญหานี้ให้ดี เพราะถ้าหากฝนตกหนักติดต่อกันหลาย ๆ วัน อาจจะทำให้พื้นคอนกรีตหน้าบ้านเกิดตะไคร่น้ำขึ้นได้ ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงและจุดอันตรายที่สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะถ้าลูกน้อยหรือคุณพ่อคุณแม่ที่อายุมากแล้ว เกิดลื่นล้มขึ้นมา อาจทำให้บาดเจ็บหนักได้

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ไล่ฉีดไปตามคราบตะไคร่น้ำให้สะอาด
  • ● ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำราดลงบนพื้นคอนกรีตให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้น้ำยาทำงาน แล้วจึงขัดด้วยแปรงทองเหลืองให้สะอาด

 

8. วัชพืชโตเร็ว

วัชพืช

ภาพ: วัชพืช

ต้นไม้กับน้ำเป็นของคู่กัน จะเห็นได้ว่าเมื่อเข้าหน้าฝนทีไร แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติจะมีความเขียวชอุ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับวัชพืชต่าง ๆ รอบบ้านเรา เมื่อเจอกับน้ำฝนเยอะ ๆ ก็จะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าปล่อยเอาไว้อาจจะทำให้มีสัตว์มีพิษอย่างงูหรือตะขาบแฝงตัวอยู่ได้

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● หมั่นตกแต่งสวนรอบบ้านอยู่เสมอ อย่างการดึงวัชพืชทิ้ง และตัดแต่งกิ่งไม้ให้เรียบร้อย

 

9. ต้นไม้หักทับตัวบ้าน

ต้นไม้หัก

ภาพ: ต้นไม้หัก

 

เป็นปัญหาของบ้านที่รักธรรมชาติอีกแล้ว โดยเฉพาะบ้านที่มีต้นไม้ใหญ่รอบ ๆ ตัวบ้านเยอะ ๆ หากวันใดวันหนึ่งเกิดฝนตกลมแรงขึ้นมา อาจทำให้ต้นไม้หรือกิ่งไม้หักโค่นลงมาทับตัวบ้าน หรือสิ่งของที่อยู่รอบ ๆ บ้าน จนเกิดความเสียหายได้

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● หลีกเลี่ยงการปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้ตัวบ้านตั้งแต่ตอนทำบ้าน
  • ● ใช้วิธีค้ำยันต้นไม้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และลดโอกาสที่ต้นไม้จะหักโค่นลงมา
  • ● หมั่นตัดแต่งกิ่งไม้ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ

 

10. ไฟฟ้าลัดวงจร

ไฟฟ้าลัดวงจร

ภาพ: ไฟฟ้าลัดวงจร

 

บ้านไหนที่มีปลั๊กไฟอยู่ใกล้กับหน้าต่างและประตู หรือชอบวางเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการโดนฝนสาด ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้มาก ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่ยอมแก้ไข อาจก่อให้เกิดประกายไฟ หรือทำให้ไฟไหม้บ้านได้เลยทีเดียว

 

เทคนิครับมือกับปัญหานี้

  • ● เคลื่อนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อการโดนฝนสาด
  • ● เดินระบบไฟในบ้านใหม่ เพื่อย้ายปลั๊กไฟไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัยนั่นเอง

 

ทั้งหมดนี้คือวิธีรับมือกับปัญหาหน้าฝนที่ช่วยให้บ้านของทุกคนไม่ต้องเสียหายจากฝนและความชื้นอีกต่อไป ซึ่งน่าจะพอเป็นแนวทางให้ทุกคนเอาไปใช้กันได้ และหากใครชอบอ่านคอนเทนต์ดี ๆ ที่เต็มไปด้วยประโยชน์และสาระน่ารู้แบบนี้ ก็อย่าลืมไปกดไลก์ Facebook: IRIS Ohyama Thailand เพื่อติดตามข่าวสารและโปรโมชันต่าง ๆ เพิ่มเติม แถมยังช่วยให้ไม่พลาดบทความและคอนเทนต์ที่มาพร้อมความรู้ดี ๆ แบบนี้อีก

 

 

ช้อปพัดลมหมุนเวียนอากาศ รุ่น PCF-SC15T